Feeds RSS
Feeds RSS

วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

osi model




โครงสร้างของโมเดล OSI ทั้ง 7 ชั้น มีรายละเอียด ดังนี้

1.Application Layer – เป็นชั้นบนสุดของ OSI Model คำว่า Application ในที่นี้หมายถึง ข้อกำหนดหรือวิธีการที่แอพพลิเคชั่นหรือโปรแกรมหรือแม้แต่ตัวระบบปฏิบัติการ จะใช้ติดต่อสั่งการหรือขอใช้บริการต่างๆ
2.Presentation Layer – เป็นชั้นที่ว่าด้วยการจัดรูปแบบที่รับมาจาก Session Layer ให้อยู่ในรูปแบบที่ Application แต่ละตัวจะสามารถเข้าใจได้ โดยจะช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการต่างๆชนิดกันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่มีปัญหา นอกจากนี้ยังให้บริการถอดหรือเข้ารหัสข้อมูลบางประเภทอีกด้วย
3.Session Layer – เป็นชั้นที่ว่าด้วยการจับคู่หรือเชื่อมโยง Application ที่อยู่ต่างเครื่องกัน เพื่อให้สามารถแยกแยะได้ว่าข้อมูลที่ได้รับมานั้น ควรเป็นของ Application คู่ไหน ทำให้เราสามารถเรียกใช้โปรแกรมในการสื่อสารพร้อมกันได้หลายๆตัว เช่น เราสามารถเปิดโปรแกรม Brownser พร้อมๆกันกับการอ่านโปรแกรม e-Mail เป็นต้น
4.Transport Layer – เป็นชั้นที่ว่าด้วยการแบ่งข้อมูลที่รับมาจาก Session Layer ซึ่งโดยมากจะมีขนาดใหญ่ให้เป็นแพ็คเก็ตขนาดคงที่ ก่อนจะส่งต่อให้ชั้น Network Layer ส่วนในแง่ของการรับข้อมูลนั้น ก็จะทำหน้าที่ประกอบแพ็คเก็ตให้กลับมาเป็นข้อมูลดังเดิม นอกจากนั้นยังมีหน้าที่ตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดจากการจัดลำดับความเร่งด่วนของแพ็คเก็ตและควบคุมความเร็วในการรับส่งแพ็คเก็ตอีกด้วย
5.Network Layer – เป็นชั้นที่ว่าด้วยการกำหนดหมายเลขประจำเครื่อง เพื่อใช้อ้างอิงหรือแยกแยะความแตกต่างของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แต่ละตัวในระบบเครือข่าย โดยหมายเลขเครื่องดังกล่าวนี้จะจับคู่กับหมายเลข MAC Address ที่ใช้อ้างอิงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในชั้นของ Data Link และยังรับผิดชชอบการกำหนดเส้นทางของการลำเลียง Packet อีกด้วย
6.Data Link Layer หรือ DLL – เป็นชั้นที่ว่าด้วยการควบคุมการรับส่งข้อมูลโดยผ่านสื่อประเภทต่างๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับ Protocal หรือชนิดของเครือข่ายที่ใช้
7.Physical Layer – เป็นชั้นล่างสุดที่ว่าด้วยการติดต่อระหว่าง Hardware และการกำหนดลักษณะทางกายภาพของสื่อต่างๆที่ใช้ในการรับส่งข้อมูล เช่น การใช้สายสัญญาณหรือ Connecter แบบไหน เป็นต้น นอกจากนี้ยังทำหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งต่อมาจากชั้น Data Link เพื่อส่งออกไปยังระบบเครือข่าย โดยข้อมูลที่มาจากชั้นของ Data Link นั้นจะถูกมองเป็นรูปแบบที่เป็นบิตเรียงกัน ไปในลักษณะ 0 หรือ 1 ที่เรียกว่า Binary Notation ก่อนที่จะแปลงสัญญาณไฟฟ้าที่แทนค่า Binary ออกสู่ระบบเครือข่าย

วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

  ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN) ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LANs) เกิดขึ้นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1971 บนเกาะฮาวาย โดยโปรเจกต์ ของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาวาย ที่ชื่อว่า “ALOHNET” ขณะนั้นลักษณะการส่งข้อมูลเป็นแบบ Bi-directional ส่งไป-กลับง่ายๆ ผ่านคลื่นวิทยุ สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ 7 เครื่อง ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะ 4 เกาะโดยรอบ และมีศูนย์กลางการเชื่อมต่ออยู่ที่เกาะๆหนึ่ง ที่ชื่อว่า Oahu
        ระบบเครือข่ายไร้สาย (WLAN = Wireless Local Area Network) คือ ระบบการสื่อสารข้อมูลที่มีความคล่องตัวมาก ซึ่งอาจจะนำมาใช้ทดแทนหรือเพิ่มต่อกับระบบเครือข่ายแลนใช้สายแบบดั้งเดิม โดยใช้การส่งคลื่นความถี่วิทยุในย่านวิทยุ RF และ คลื่นอินฟราเรด ในการรับและส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ผ่านอากาศ, ทะลุกำแพง, เพดานหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ โดยปราศจากความต้องการของการเดินสาย นอกจากนั้นระบบเครือข่ายไร้สายก็ยังมีคุณสมบัติครอบคลุมทุกอย่างเหมือนกับระบบ LAN แบบใช้สาย
        ที่สำคัญก็คือ การที่มันไม่ต้องใช้สายทำให้การเคลื่อนย้ายการใช้งานทำได้โดยสะดวก ไม่เหมือนระบบ LAN แบบใช้สาย ที่ต้องใช้เวลาและการลงทุนในการปรับเปลี่ยนตำแหน่งการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์